วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

พันธะของคาร์บอน

เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 4 ของคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) ได้ 4 พันธะ ซึ่งอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) พันธะคู่ (double bond) หรือพันธะสาม (triple bond) ก็ได้ การเกิดพันธะของคาร์บอนสามารถเกิดได้ 3 แบบดังนี้  

พันธะเดี่ยว 4 พันธะ


พันธะคู่ 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 2 พันธะ 

พันธะสาม 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 1 พันธะ 
ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอน - คาร์บอน เรียงจากน้อยไปมาก ดังนี้
พลังงานพันธะ                               900                    600                    300                 kJ/mol
อะตอมอื่นๆ ที่มาร่วมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเกิดพันธะโคเวเลนซ์กับคาร์บอนในสารอินทรีย์ ธาตุที่พบมากที่สุด คือ ไฮโดรเจน (H) สำหรับธาตุอื่นๆ นอกจาก H แล้วยังมี ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), ออกซิเจน (O), กำมะถัน (S) และแฮโลเจน (F, Cl, Br, I)
ที่มา http://www.scimath.org/

การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
สูตรโครงสร้างของสารเป็นสูตรที่แสดงการจัดเรียงอะตอมของธาตุองค์ประกอบที่มีอยู่ใน 1 โมเลกุลของสารนั้นสำหรับสารประกอบอินทรีย์ที่โมเลกุลมีขนาดใหญ่ การเขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงโครงสร้างโมเลกุลของสารเหล่านั้นทำได้ไม่สะดวก จึงอาจเขียนแสดงด้วย>สูตรโครงสร้างแบบย่อโดยแสดงเฉพาะพันธะคู่หรือพันธะสามระหว่างอะตอมของคาร์บอน ส่วนอะตอมของธาตุอื่นที่สร้างพันธะกับอะตอมของคาร์บอน ให้เขียนไว้ข้างคาร์บอนและไม่ต้องแสดงพันธะแล้วเขียนตัวเลขแสดงจำนวนอะตอมกำกับไว้ ถ้ามีกลุ่มอะตอมเหมือนกันมากกว่าหนึ่งหมู่ ให้เขียนไว้ในวงเล็บและระบุจำนวนกลุ่มอะตอมไว้


โครงสร้างแบบย่อ มีข้อดีกว่าการเขียนด้วยโครงสร้างแบบลิวอิส
กล่าวคือใช้เนื้อที่น้อย เขียนได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจพิจารณา
โครงสร้างของโมเลกุลได้ยากและทำให้เกิดความสับสนได้
นอกจากนี้อาจเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์เป็นแบบเส้นและมุมโดยใช้เส้นตรงแทนพันธะระหว่างคาร์บอน ถ้ามีจำนวนคาร์บอนต่อกันมากกว่า 2 อะตอมให้ใช้เส้นต่อกันแบบซิกแซกแทนสายโซ่ของคาร์บอนที่ปลายเส้นตรงและแต่ละมุมของสายโซ่แทนอะตอมของคาร์บอนต่ออยู่กับไฮโดรเจนในจำนวนที่ทำให้คาร์บอนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ถ้าในโมเลกุลมีหมู่อะตอมแยกออกมาจากสายโซ่ของคาร์บอนให้ลากเส้นต่อออกมาจากสายโซ่และให้จุดตัดของเส้นแทนอะตอมของคาร์บอน ตัวอย่างเช่น


ส่วนโมเลกุลที่มีโครงสร้างแบบวง ให้เขียนแสดงพันธะตามรูปเหลี่ยมนั้น เช่น

การเขียนสูตรโครงสร้างของสารโดยใช้เส้นและมุม นิยมใช้กับสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างแบบวงหรือมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เนื่องจากเขียนได้สะดวกและรวดเร็วกว่าสูตรโครงสร้างแบบอื่นๆ

ที่มา www.vcharkarn.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น